top of page
Black%20and%20White%20City%20Blog%20Bann
Writer's pictureKris Laohasiri

(En/Th) 100-Million-Year-Old Cockroach in Burmese Amber

Updated: Oct 1

หน้าต่างสู่โลกล้านปี: แมลงสาบในอำพันพม่าอายุ 100 ล้านปี



ลองจินตนาการว่าคุณกำลังถือชิ้นส่วนประวัติศาสตร์สักชิ้นอยู่ในมือ ซากแมลงดึกดำบรรพ์จากยุคที่ไดโนเสาร์ยังครองโลก รวมถึงสิ่งมีชีวิตอื่นๆที่ได้หล่อหลอมโลกใบที่เรารู้จักในทุกวันนี้ อำพันพม่าชิ้นงามที่นำมาแสดงนี้ คือประตูสู่อดีตอันไกลโพ้น ที่ถูกรักษาไว้นานถึง 100 ล้านปี ภายในก้อนยางไม้สนดึกดำบรรพ์สีทองที่แข็งตัวกลายเป็นอำพันนี้ คือแมลงสาบที่ถูกเก็บรักษาไว้อย่างสมบูรณ์ เผยให้เห็นรูปแบบชีวิตอันหาได้ยากยิ่งจากยุคครีเทเชียส มาร่วมสำรวจโลกอันน่าพิศวงของอำพันพม่าพร้อมซากแมลงสาบดึกดำบรรพ์ และความมหัศจรรย์ทางวิทยาศาสตร์ที่รอคอยการเปิดเผย


อำพัน: แคปซูลกาลเวลาจากธรรมชาติ


อำพัน ขึ้นชื่อในด้านความงามเจิดจรัสและได้รับการอนุรักษ์ทางธรรมชาติอันยาวนานนี้ คือยางไม้สนที่แข็งตัวกลายเป็นอำพันโดยผ่านกระบวนการทางธรณีวิทยาหลายสิบล้านปี อำพันพม่าหรือ "เบอร์ไมต์" โด่งดังในเรื่องความใสพิเศษ และความสามารถในการเก็บรักษาสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์ได้อย่างน่าทึ่ง อำพันชนิดนี้ก่อตัวขึ้นเมื่อราว 99 ล้านปีก่อน ในช่วงปลายยุคครีเทเชียส ทำให้เราได้เห็นภาพระบบนิเวศในยุคดึกดำบรรพได้อย่างชัดเจน โดยเก็บรักษาพืชและสัตว์ไว้อย่างครบถ้วนทุกรายละเอียด


ตัวอย่างของอำพันฟอสซิลชิ้นนี้ ได้รับการรับรองจากสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ GIT มีน้ำหนักรวม 8.22 กะรัต ขนาด 23.63 x 17.47 x 7.48 มิลลิเมตร สีเหลืองทองอร่ามเป็นเอกลักษณ์ของอำพันคุณภาพสูง ซึ่งได้รับการขัดเงาอย่างพิถีพิถันเพื่อแสดงให้เห็นถึงซากดึกดำบรรพ์อันน่าทึ่งที่อยู่ภายใน อำพันชิ้นนี้ได้รับการรับรองว่าเป็นเบอร์ไมต์ (Burmite) แท้ โดยไม่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพใดๆ นั่นหมายความว่าอำพันชิ้นนี้ยังคงสภาพธรรมชาติอย่างสมบูรณ์มาตลอดหลายสิบล้านปี

 

Unveiling Prehistoric Wonders: The Burmese Amber Fossil Specimen with a 100-Million-Year-Old Cockroach


Imagine holding a piece of history, a remnant from an era when dinosaurs roamed the Earth, and life was still shaping the world we live in today. Our exquisite Burmese amber specimen offers just that—a window into the prehistoric past, preserved for over 100 million years. This golden-yellow fossilized resin encapsulates a perfectly preserved cockroach, offering a rare glimpse into the life forms that existed during the Cretaceous period. Let’s dive deep into the fascinating world of Burmese amber, prehistoric cockroaches, and the scientific marvels they reveal.


The Amber: Nature's Time Capsule


Amber, known for its striking beauty and preservation properties, is fossilized tree resin that has endured millions of years of geological processes. Burmese amber, also called "Burmite," is especially renowned for its exceptional clarity and the incredible preservation of prehistoric life within it. Formed around 99 million years ago during the late Cretaceous period, this amber provides a crystal-clear view of ancient ecosystems, preserving flora and fauna in stunning detail.


Our specimen, certified by The Gem and Jewelry Institute of Thailand (Public Organization) or GIT, weighs 8.22 carats, measuring 23.63 x 17.47 x 7.48 mm. Its golden-yellow hue is a hallmark of high-quality amber, expertly polished to showcase the remarkable fossil within. Certified as authentic Burmite, this piece is verified to be untreated, meaning its natural state has remained untouched for millennia.


แมลงสาบยุคก่อนประวัติศาสตร์: เซียนด้านการปรับตัวมาทุกยุคสมัย 


แมลงสาบที่ถูกเก็บรักษาในอำพันชิ้นนี้ ไม่ใช่แค่แมลงดึกดำบรรพ์ธรรมดา แต่เป็นสัญลักษณ์แห่งการปรับตัวเป็นอย่างดี และความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ของวิวัฒนาการ แมลงสาบเป็นหนึ่งในสิ่งมีชีวิตที่เก่าแก่ที่สุดบนโลก โดยปรากฏตัวครั้งแรกเมื่อกว่า 320 ล้านปีก่อน ในยุคคาร์บอนิเฟอรัส พวกมันรอดพ้นจากการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่มาหลายครั้งหลายคราว รวมถึงยุคที่ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ ความสามารถในการปรับตัวและความอึดของแมลงสาบได้กลายเป็นตำนาน ทำให้พวกมันได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในผู้ดำรงชีพและอยู่รอดอย่างประสบความสำเร็จที่สุดบนโลกใบนี้


ในยุคครีเทเชียส ซึ่งเป็นยุคที่แมลงสาบในก้อนอำพันนี้ถือกำเนิดขึ้น แมลงสาบเจริญเติบโตในสภาพแวดล้อมระบบนิเวศที่หลากหลาย งานวิจัยชี้ว่าในช่วงเวลานั้น มีแมลงสาบมากกว่า 4,500 สายพันธุ์ที่อาศัยอยู่ร่วมกับไดโนเสาร์ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมยุคแรก และนกดึกดำบรรพ์ เชื่อกันว่าแมลงที่ติดอยู่ในอำพันนี้เป็นหนึ่งในสมาชิกของสายพันธุ์ดึกดำบรรพ์ที่ได้กล่าวถึง ซึ่งยังคงสภาพสมบูรณ์ โดยเห็นปีก ขา หนวด และโครงสร้างร่างกายได้อย่างชัดเจน ฟอสซิลนี้ให้มุมมองเกี่ยวกับฟอสซิลแมลงสาบที่หาได้ยาก และแสดงให้เห็นรายละเอียดของแมลงสาบในยุคต้น ถือว่าเป็นข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญเกี่ยวกับกายวิภาคและวิถีชีวิตของพวกมันเมื่อหลายสิบล้านปีก่อน


ความเกี่ยวเนื่องทางวิทยาศาสตร์ของตัวอย่างนี้


รายงานของ GIT ยืนยันความเป็นอำพันพม่าธรรมชาติแท้ และมีคุณค่าในทางวิทยาศาสตร์ การศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์และการวิเคราะห์สเปกตรัม FTIR เผยว่าอำพันฟอสซิลชิ้นนี้ ไม่ได้ผ่านการปรับปรุงคุณภาพทางความร้อน ซึ่งช่วยรักษาคุณสมบัติตามธรรมชาติของตัวอำพันและฟอสซิลภายในไว้ได้ นอกจากนี้ อำพันยังผ่านการทดสอบด้วยเครื่องมือ LA-ICP-MS และ XRD ซึ่งช่วยยืนยันอายุและแหล่งกำเนิดทางธรณีวิทยาของชิ้นอำพันได้แม่นยำยิ่งขึ้น

 

The Prehistoric Cockroach: A Survivor of Ages


The cockroach preserved inside this amber is more than just an ancient insect—it's a symbol of resilience and evolutionary success. Cockroaches are one of the Earth’s most ancient species, first appearing over 320 million years ago during the Carboniferous period. These creatures have survived through multiple mass extinction events, including the one that wiped out the dinosaurs. Their adaptability and hardiness are legendary, earning them the title of one of Earth's most successful survivors.


In the Cretaceous period—the era to which our specimen belongs—cockroaches thrived in diverse ecosystems. Research suggests that during this time, there were over 4,500 species of cockroaches, living alongside dinosaurs, large mammals, and early birds. The insect trapped in this amber is believed to be a member of one of these ancient species, perfectly preserved with visible wings, legs, antennae, and body structure. This fossil offers a rare and detailed view of these early roaches, providing crucial insights into their anatomy and lifestyle millions of years ago.


The Science Behind the Specimen


The GIT report confirms the authenticity and scientific significance of this fossil. The microscopic observation and FTIR spectra analysis reveal that the amber has not been subjected to heat treatments, preserving the natural qualities of the resin and the fossil within. The amber was also tested using LA-ICP-MS and XRD instruments, further verifying its age and geological origin.



บทบาทของแมลงสาบในระบบนิเวศยุคก่อนประวัติศาสตร์


แมลงสาบมีบทบาทสำคัญในระบบนิเวศยุคก่อนประวัติศาสตร์ เช่นเดียวกับในปัจจุบัน พวกมันทำหน้าที่เป็นผู้ย่อยสลายซากพืชและมีส่วนช่วยในการหมุนเวียนสารอาหาร ด้วยความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นป่าดิบชื้นหรือพื้นที่ราบแห้งแล้ง ทำให้แมลงสาบสามารถอยู่รอดได้แม้ในช่วงที่สภาพภูมิอากาศของโลกเปลี่ยนแปลงอย่างมากตลอดหลายล้านปี  ความสามารถในการปรับตัวนี้เองที่ทำให้แมลงสาบดำรงเผ่าพันธุ์มาได้ยาวนาน ในขณะที่แมลงชนิดอื่นๆ ได้สูญพันธุ์ไป


เมื่อพิจารณาจากลักษณะทางกายวิภาค แมลงสาบยุคก่อนประวัติศาสตร์มีรูปร่างคล้ายคลึงกับแมลงสาบในปัจจุบันมาก แม้ว่าบางชนิดจะมีขนาดใหญ่กว่าเนื่องจากระดับออกซิเจนที่สูงกว่าในช่วงปลายยุคพาลีโอโซอิกและต้นยุคมีโซโซอิก ซากฟอสซิลแมลงสาบบางตัวมีความยาวถึง 10 เซนติเมตร แต่ส่วนใหญ่มีขนาดใกล้เคียงกับแมลงสาบที่เราพบเห็นในปัจจุบัน โดยทั่วไปมีความยาวระหว่าง 1 ถึง 5 เซนติเมตร ตัวอย่างในอำพันที่พบนี้น่าจะเป็นสายพันธุ์ที่มีขนาดเล็กกว่า ซึ่งพบได้ทั่วไปในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนในยุคครีเทเชียส


ลักษณะสำคัญของตัวอย่างในอำพันพม่า:


  • อำพันพม่าแท้ (เบอร์ไมต์): เป็นหนึ่งในอำพันที่เป็นที่ต้องการมากที่สุด เนื่องจากมีความใสและเก็บรักษาซากสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์ไว้ได้อย่างดีเยี่ยม

  • แมลงสาบฟอสซิล: แมลงที่ถูกเก็บรักษาไว้อย่างสมบูรณ์ คาดว่ามีอายุมากกว่า 100 ล้านปี ถูกกักเก็บไว้ตั้งแต่ยุคครีเทเชียส

  • การคงสภาพที่ยอดเยี่ยม: สามารถมองเห็นรายละเอียดทุกส่วนของแมลงสาบได้อย่างชัดเจน ทั้งปีก ขา และหนวด ทำให้เห็นภาพชีวิตในยุคก่อนประวัติศาสตร์ได้อย่างน่าทึ่ง

  • การรับรองความเป็นอำพันธรรมชาติแท้: ผ่านการตรวจสอบจาก GIT เพื่อรับรองความเป็นธรรมชาติแท้และไม่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพใดๆ ตัวอย่างนี้ได้รับการวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือขั้นสูง ได้แก่ FTIR, LA-ICP-MS และ XRD

 

The Role of Cockroaches in Prehistoric Ecosystems


Cockroaches played an essential role in prehistoric ecosystems, much as they do today. They were likely scavengers, feeding on decaying plant matter and contributing to the nutrient cycle. Their ability to adapt to various environments—from tropical forests to arid plains—helped them survive even as global climates shifted drastically over millions of years. This adaptability is one of the key reasons cockroaches have endured for so long, thriving where many other species have perished.


In terms of anatomy, prehistoric cockroaches were quite similar to their modern counterparts, though some species were larger due to higher oxygen levels during the late Paleozoic and early Mesozoic eras. Some fossilized cockroaches have been discovered measuring up to 10 cm in length, though most were closer in size to those we see today, typically between 1 to 5 cm long. The specimen within this amber likely belonged to a smaller species, common in tropical and subtropical regions during the Cretaceous period.


Key Features of the Burmese Amber Specimen:


  • Genuine Burmese Amber (Burmite): One of the most sought-after ambers for its clarity and the exceptional preservation of ancient life forms.

  • Fossil Cockroach: A perfectly preserved insect, estimated to be over 100 million years old, trapped during the Cretaceous period.

  • Exceptional Preservation: Every detail of the cockroach—from its wings and legs to its antennae—is visible, offering an unparalleled glimpse into prehistoric life.

  • Certification: Verified by GIT, ensuring its authenticity and untreated status. The specimen was analyzed using advanced instruments, including FTIR, LA-ICP-MS, and XRD.



ความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของอำพันพม่า (Burmite)


นักวิทยาศาสตร์รู้จักอำพันพม่ามานานหลายศตวรรษ แต่เพิ่งค้นพบความสำคัญทางบรรพชีวินวิทยาที่แท้จริงเมื่อไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา จากการค้นพบอำพันในรัฐกะฉิ่นทางตอนเหนือของพม่า ทำให้อำพันพม่ากลายเป็นหนึ่งในอำพันที่เก่าแก่ที่สุดที่เคยค้นพบ โดยมีอายุย้อนไปถึงช่วงกลางยุคครีเทเชียส อำพันชนิดนี้มักมีแมลง พืช และแม้แต่สัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็กที่กลายเป็นฟอสซิลอยู่ภายใน ทำให้สามารถบันทึกภาพชีวิตตั้งแต่ยุคไดโนเสาร์ได้อย่างละเอียด


ข้อมูลน่าสนใจเกี่ยวกับแมลงสาบ:


  • แมลงสาบมีอยู่บนโลกมานานกว่า 320 ล้านปี ก่อนที่ไดโนเสาร์จะปรากฏตัว

  • แมลงสาบมีความสามารถในการปรับตัวสูงมาก สามารถอยู่ได้โดยไม่ต้องกินอาหารนานถึงหนึ่งเดือน และไม่ต้องดื่มน้ำนานถึงหนึ่งสัปดาห์

  • แมลงสาบมีชีวิตอยู่ได้โดยไม่มีหัวนานถึงหนึ่งสัปดาห์ และจะตายเพราะไม่สามารถดื่มน้ำได้อีกต่อไป

  • นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบซากฟอสซิลแมลงสาบในแหล่งอำพันหลายแห่งทั่วโลก โดยบางชนิดมีอายุย้อนไปถึงยุคจูราสสิก

 

Historical Significance of Burmite


Burmese amber has been known to scientists for centuries, but it wasn’t until more recent decades that its true paleontological significance came to light. With amber deposits found in the Kachin State of northern Myanmar, Burmite is some of the oldest amber ever discovered, typically dating back to the mid-Cretaceous. This amber often contains fossilized insects, plants, and even small reptiles, offering an incredibly detailed record of life from the age of dinosaurs.


Fun Facts About Cockroaches:


  • Cockroaches have existed for over 320 million years, long before dinosaurs appeared on Earth.

  • They are known for their incredible resilience, with the ability to survive without food for up to a month and without water for over a week.

  • Cockroaches can live without their heads for up to a week, dying only because they can no longer drink water.

  • Scientists have discovered fossilized cockroaches in various amber deposits around the world, with some dating back to the Jurassic period.



ตัวอย่างอำพันพม่าชิ้นนี้เหมาะอย่างยิ่งสำหรับ:


  • ผู้ชื่นชอบบรรพชีวินวิทยา: เป็นโอกาสที่จะได้เห็นภาพชีวิตในยุคก่อนประวัติศาสตร์อย่างใกล้ชิด

  • นักสะสมประวัติศาสตร์ธรรมชาติ: เป็นฟอสซิลที่สวยงามและมีความสำคัญทางวิทยาศาสตร์

  • นักการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์: เป็นสื่อการสอนที่ยอดเยี่ยม ในการแสดงให้เห็นถึงระบบนิเวศดึกดำบรรพ์และวิวัฒนาการของแมลงในยุคนั้น 

  • ผู้สนใจเครื่องประดับ: สามารถนำมาทำเป็นจี้ที่สวยงามและมีความหมาย เหมาะสำหรับทั้งผู้ชายและผู้หญิง และรับรองว่าต้องมีผู้คนสนใจและถามถึงรายละเอียดเกี่ยวกับฟอสซิลชิ้นนี้แน่นอน  


สัมผัสประวัติศาสตร์ของโลกด้วยมือคุณเอง


ตัวอย่างอำพันพม่าที่น่าทึ่งชิ้นนี้มีค่ามากกว่าเป็นเพียงวัตถุสวยงาม แต่เป็นแคปซูลกาลเวลาที่เก็บภาพชีวิตจากเมื่อกว่า 100 ล้านปีก่อน แมลงสาบที่กลายเป็นฟอสซิลภายในอำพันชิ้นนี้ ให้มุมมองที่หาได้ยากและมีละเอียดของสิ่งมีชีวิตที่เก่าแก่และปรับตัวเก่งที่สุดชนิดหนึ่งของโลก ให้ข้อมูลเชิงลึกอันมีค่าเกี่ยวกับโลกยุคดึกดำบรรพ์และพลังแห่งวิวัฒนาการ การรับรองทางวิทยาศาสตร์ และความสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่ไม่เหมือนใคร ตัวอย่างนี้จึงเป็นสมบัติล้ำค่าสำหรับผู้ที่สนใจธรรมชาติวิทยา อย่าพลาดโอกาสเป็นเจ้าของส่วนหนึ่งของยุคก่อนประวัติศาสตร์ของโลก 

 

Perfect for Collectors and Enthusiasts:


This Burmese amber specimen is an ideal acquisition for:


  • Paleontology enthusiasts: A unique glimpse into prehistoric life.

  • Natural history collectors: An exquisite and scientifically significant fossil.

  • Science educators: A perfect teaching tool to illustrate ancient ecosystems and insect evolution.

  • Pendant Jewelry: A stunning and meaningful accessory, perfect for both men and women, and sure to spark conversation.


Conclusion: Hold a Piece of Earth's History in Your Hand


This remarkable Burmese amber specimen is more than just a beautiful artifact—it's a time capsule, preserving a snapshot of life from over 100 million years ago. The fossilized cockroach inside offers a rare and detailed look at one of the Earth’s oldest and most resilient creatures, providing valuable insights into the ancient world and the forces of evolution. With its exceptional clarity, scientific certification, and unique historical significance, this specimen is a treasure for anyone interested in the natural world.Don’t miss this chance to own a piece of Earth’s prehistoric history. 



 

#BurmeseAmber #AmberFossil #PrehistoricLife #FossilizedCockroach #AncientInsects #CretaceousPeriod #NaturalHistory #Paleontology #AmberSpecimen #Burmite #CockroachFossil #PrehistoricAmber #DinosaurEra #ScientificCertifications #GITCertified #FossilPreservation #InsectFossils #AncientBiodiversity #AmberGemstone #PaleontologyCollectors #FossilCollectors #AncientCreatures #PrehistoricResilience #FossilizedInsects #BurmeseAmberSpecimen #GeologicalHistory #RareFossils #EvolutionaryHistory #MuseumQuality #HistoricalArtifacts #ScientificAnalysis #AmberJewelry #FossilizedHistory #AmberCollection #NaturalPreservation #HistoricalInsects #RareAmber #CockroachHistory #AmberBeauty #PaleontologicalResearch #FossilizedTreasures #ScientificDiscovery #PrehistoricArtifacts #AmberEnthusiasts #AncientLifeForms #GITReport #InsectEvolution #FossilizedDetails #ÁmbarBurmés #FósilDeÁmbar #VidaPrehistórica #CucarachaFósil #InsectosAntiguos #PeríodoCretácico #HistoriaNatural #Paleontología #MuestraDeÁmbar #Burmita #FósilDeCucaracha #ÁmbarPrehistórico #EraDeLosDinosaurios #CertificacionesCientíficas #CertificadoGIT #PreservaciónDeFósiles #FósilesDeInsectos #BiodiversidadAntigua #PiedraDeÁmbar #ColeccionistasDePaleontología #ColeccionistasDeFósiles #CriaturasAntiguas #ResilienciaPrehistórica #InsectosFosilizados #MuestraDeÁmbarBurmés #HistoriaGeológica #FósilesRaros #HistoriaEvolutiva #CalidadDeMuseo #ArtefactosHistóricos #AnálisisCientífico #JoyeríaDeÁmbar #HistoriaDeFósiles #ColecciónDeÁmbar #PreservaciónNatural #InsectosHistóricos #ÁmbarRaro #HistoriaDeCucarachas #BellezaDelÁmbar #InvestigaciónPaleontológica #TesoroDeFósiles #DescubrimientoCientífico #ArtefactosPrehistóricos #EntusiastasDelÁmbar #FormasDeVidaAntiguas #InformeGIT #EvoluciónDeInsectos #DetallesFosilizados

Comments

Rated 0 out of 5 stars.
No ratings yet

Add a rating
bottom of page